อิทธิพล Social Network ต่อสังคมไทย
ในปัจจุบันสื่อประเภทใหม่ที่เข้ามามีอิทธิพลกับสังคมไทยอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีชื่อว่า Social network ทุกคนคงสงสัยว่า Social network คืออะไร แล้วเข้ามีอิทธิพลอย่างไร อย่างที่ปรากฏในข่าวต่างๆ ในประเทศไทยพึ่งเคยเกิดขึ้นหรือเคยเกิดขึ้นมานานแล้วแต่สังคมไทยไม่เคยที่จะเรียนรู้จากปัญหาที่เคยเกิดขึ้นมาในอดีตหรือเปล่า แล้วมีวิธี แก้ไข ป้องกัน อิทธิพลของ Social network คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบที่มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยกว่าสองเครื่องเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อ กลาง และสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้
เนื่องจากการใช้งานอินเตอร์เนตที่คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายมากและการใช้งานอีเมล์ในการรับส่งข้อมูลกันอย่างแพร่หลายเพิ่มมากยิ่งขึ้นทำให้เกิดการสร้างกลุ่มของคนที่สนใจในเรื่องๆเดียวกันได้เริ่มมีการสร้างเวปไซต์ที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะกลุ่มขึ้นมา
ประเภทของ Social Network
1.Identity Network เผยแพร่ตัวตน เช่น Myspace.com ,Hi5 ,Facebook เป็นต้น ใช้สำหรับนำเสนอตัวตน และเผยแพร่เรื่องราวของตนเองทางอินเตอร์เน็ท รวมถึงการสร้างกลุ่มเพื่อน เป็นกลุ่ม ๆ บนเครือข่าย
2.Creative Network เผยแพร่ผลงาน เช่น YouTube ,Flickr สามารถนำเสนอผลงานของตัวเองได้ในรูปแบบของวีดีโอ ภาพ หรือเสียงเพลง
3.Interested Network ความสนใจตรงกัน เช่น del.icio.us เป็น Online Bookmarking หรือ Social Bookmarking โดยเป็นการ บุ๊คมาร์ค เว็บที่เราสนใจไว้บนอินเทอร์เน็ตสามารถแบ่งปันให้คนอื่นดูได้และยัง สามารถบอกความนิยมของเว็บไซต์ต่าง ๆ ได้
4.Collaboration Network ร่วมกันทำงาน คือเป็นการร่วมกันพัฒนาซอฟต์แวร์หรือส่วนต่าง ๆ ของซอฟต์แวร์ เช่น Google
5.Gaming/Virtual Reality โลกเหมือน เช่น Second.life
การศึกษา
เรื่องต่อมาที่ผมอยากจะนำเสนอคือเรื่อง การใช้ประโยชน์จาก Social Network กับระบบการศึกษาไทยครับ มีความจริงอยู่เรื่องนึงที่เป็นปัญหากับระบอบการศึกษาไทยมาเป็นเวลาช้านาน (เป็น Thailand Only อย่างนึง) แล้วก็คือ เด็กไทยไม่กล้าถาม ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น (แต่กล้าทวีต) ถ้าเป็นอย่างนั้นส่วนตัวผมคิดว่าน่าจะมีการทดลองนำเอา Twitter มาประยุกต์กับระบบการศึกษาของไทยคงจะดีไม่น้อยใช่มั้ยครับ หรือการใช้ Social Network เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการเรียนรู้ให้เด็กไทย ยกตัวอย่างเช่น
มีรุ่นน้องของผมคนนึงพยายามสร้างสังคมออนไลน์ขึ้นมาเพื่อส่งเสริมระบบการศึกษาไทย ส่งเสริมให้เด็กไทยเขียนบทความกันมากขึ้น หรือมีการรวมกลุ่มเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ผ่านทาง Social Network (http://do.in.th/) นี้ ซึ่งเป็นไอเดียที่แจ่มแมวและเป็นที่น่ายินดีของประเทศไทยที่มีเด็กที่มีความสามารถและเสียสละเพื่อพัฒนาระบบการศึกษาหรือแม้แต่สังคมไทยต่อไป ขอปรบมือให้ครับ
10 อันดับ Social Network ที่ได้รับความนิยม
1.MySpace.com
2.FaceBook.com
3.Orkut.com
4.Hi5.com
5.Vkonakte.ru
6.Friendster.com
7.SkyRock.com
8.PerfSpot.com
9.Bebo.com
10.Studivz.net
ประโยชน์ของ Social Network
บริษัทต่าง ๆ เริ่มหันมาใช้ Blog ในการประชาสัมพันธ์สินค้าและบริหารมากขึ้น เนื่องจากจัดการใช้งาน และอัพเดทให้ทันสมัยได้ง่าย อีกทั้งยังเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ดี เพราะ Blog ส่วนใหญ่จะสำรวจและแยกประเภทความสนใจของสมาชิกอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายที่ถูก และสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างบริษัทกับลูกค้าผ่านข้อความแสดงความคิดเห็นได้อีกด้วย
ข้อดี - ข้อเสีย ของ Social Network
ในโลกไซเบอร์ก็เหมือนสังคมรอบข้างตัวเรา มีใส่หน้ากาก กัดกันข้างหลัง มีนิสัยดี นิสัยชั่ว มีการสงสัย การระวังคนรอบข้าง มีหมดทุกอย่าง เพราะมันเป็นธรรมดาของโลก แต่เราจะสามารถคัดกรองกลุ่มคนยังไงได้นั้น ก็ต้องใช้สติปัญญาในการวิเคราะห์ หรือพิจารณา คนที่เราคิดว่าน่าจะเป็นคนดี สักวันหนึ่งอาจจะกลับกลายเป็นคนชั่วไปก็เป็นได้ ในโลกนี้ไม่มีอะไรที่เป็นแน่นอน เพียงแต่เราจะมองโลกในแง่บวก หรือแง่ลบ เท่านั้นเอง เช่นเดียวกับเหรียญที่มี 2 ด้านเสมอก็เฉกเช่นเดียวกับคนที่มีทั้งคนดีและคนชั่ว และใน Social Network ก็เช่นเดียวกัน ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
ข้อดีของ Social Network
1.สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ในสิ่งที่สนใจร่วมกันได้
2.เป็นคลังข้อมูลความรู้ขนาดย่อมเพราะเราสามารถเสนอและแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้ หรือตั้งคำถามในเรื่องต่าง ๆเพื่อให้บุคคลอื่นที่สนใจหรือมีคำตอบได้ช่วยกันตอบ
3.ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารกับคนอื่น สะดวกแบะรวดเร็ว
4.เป็นสื่อในการนำเสนอผลงานของตัวเอง เช่น งานเขียน รูปภาพ วีดีโอต่าง ๆ เพื่อให้ผู้อื่นได้เข้ามารับชมและแสดงความคิดเห็น
5.ใช้เป็นสื่อในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือ บริการลูกค้าสำหรับบริษัทและองค์กรต่าง ๆ
6.ช่วยสร้างผลงานและรายได้ให้แก่ผู้ใช้งาน เกิดการจ้างงานแบบใหม่ ๆ
ข้อเสียของ Social Network
1.เว็บไซต์ให้บริการบางแห่งอาจจะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป หากผู้ใช้บริการไม่ระมัดระวังในการกรอกข้อมูล
2.เป็นสังคมออนไลน์ที่กว้าง หากผู้ใช้รู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือขาดวิจารณญาณ อาจโดนหลอกลวงผ่านอินเทอร์เน็ต หรืออาจนัดเจอกันเพื่อจุดประสงค์ร้าย ตามที่มีข่าวในสื่อหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ
3.เป็นช่องทางในการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ ขโมยผลงาน หรือถูกแอบอ้าง เพราะ Social Network Service เป็นสื่อในการเผยแพร่ผลงาน รูปภาพ ต่าง ๆ ได้
4.ข้อมูลที่ต้องการกรอกเพื่อสมัครสมาชิกและแสดงบนเว็บไซต์ในรูปแบบ Social Network ยากแก่การตรวจสอบว่าจริงหรือไม่ ดังนั้นอาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับเว็บไซต์ที่กำหนดอายุการสมัครสมาชิก หรือการถูกหลอกโดยบุคคลที่ไม่มีตัวตนได้
สรุปงานสัมมนากลุ่มย่อย
วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554
วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554
3G TOT
ความเป็นมาของระบบ 3G
1G - ระบบ Analog เป็นยุคแรกแห่งเทคโนโลยี
2G - ระบบ Digital เป็นยุคที่สองแห่งเทคโนโลยี ดิจิตอล
3G - ระบบ Wireless เป็นยุคที่สาม ของโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือมาตรฐาน IMT-2000
G ย่อมาจาก Generation
จากแนวโน้มความต้องการในการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีการเปลี่ยนจากบริการด้าน ใช้ในการสนทนาเพียงอย่างเดียว (Mobile Voice) และเดี่ยวนี้มาเป็นการใช้บริการด้านข้อมูลในการส่งข้อความและรวมไปทั้งการบริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (Mobile Broadband) ที่มีเพิ่มมากขึ้นนั้นทำให้ TOT มองเห็นถึงโอกาสที่จะดำเนินการในการให้ บริการด้านโทรคมนาคมด้วยนวัตกรรมที่สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่ใช้งานอินเตอร์เน็ตไร้สาย โดยได้นำการให้บริการที่เรียกว่า โทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุคที่ 3 (3G) มาให้บริการ
ความสามารถของระบบ 3G
บริการที่ไม่ขาดตอน (Seamless Delivery Service) ” คือ การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยน เซลล์ไซต์ (Cell Site) เขาใช้คำว่า Seam less นั้น แปลว่า ไร้รอยตะเข็บนะครับอัตราความเร็วในการส่งข้อมูล (Transmission Rate) ในมาตรฐาน IMT-2000 นั้นกำหนดไว้ว่าต้องมีอัตราความเร็วดังนี้
-ในสภาวะอยู่กับที่หรือขณะเดิน มีความเร็วอย่างน้อยที่สุด 2 เมกะบิต/วินาที
-ในสภาวะเคลื่อนที่โดยยานพาหนะ มีความเร็วอย่างน้อยที่สุด 384 กิโลบิต/วินาที
-ทุกสภาวะ มีความเร็วอย่างมากที่สุด 14.4 เมกะบิต/วินาที
เราจะรู้ได้ยังไงว่าโทรศัพท์ของเรารองรับระบบ 3G
เป็นสิ่งที่ดูได้ ไม่ยาก แค่ตรวจดูโทรศัพท์ของท่าน ถ้ามีตัวที่รองรับระบบ HSDPA , HSUPA , HSPA , UMTS ถ้ามีระบบพวกนี้แสดงว่าโทรศัพท์ของท่านสามารถใช้ระบบ 3G ได้ แต่จะสามารถใช้กับ 3G ของค่ายไหนได้บ้างต้องดูที่ ย่านความถี่ อีกทีครับ
ความถี่ที่สามารถใช้ 3G ได้ก็คือ 2100 MHz , 1900 MHz , 1700 MHz , 900 MHz , และ 850 MHz เท่านั้น
3G มีประโยชน์อย่างไร
จากการที่ 3G สามารถรับส่งข้อมูลในความเร็วสูง ทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปได้ อย่างรวดเร็ว และมีรูปแบบใหม่ๆ ประกอบกับอุปกรณืสื่อสารไร้สายในระบบ 3G สามารถให้บริการในระบบเสียง และแอพพิเคชั่นรูปแบบใหม่ๆ ได้
เช่นการดาวน์โหลดเกม,หนัง,การแสดงแผ่นที่ต่าง ๆ ทำให้มีความรวดเร็วและสะดวกสบายยิ่งขึ้น ช่วยให้ชีวิตประจำวันสะดวกสบายและคล่องตัวขึ้น โดย โทรศัพท์เคลื่อนที่เปรียบเสมือน คอมพิวเตอร์แบบพกพา, วิทยุส่วนตัว และแม้แต่กล้องถ่ายรูป ผู้ใช้สามารถเช็คข้อมูลใน account ส่วนตัว เพื่อใช้บริการต่างๆ ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่น self-care (ตรวจสอบค่าใช้บริการ), แก้ไขข้อมูลส่วนตัว และ ใช้บริการข้อมูลต่างๆ เช่น ข่าวเกาะติดสถานการณ์, ข่าวบันเทิง, ข้อมูลด้านการเงิน, ข้อมูลการท่องเที่ยว และ ตารางนัดหมายส่วนตัว “Always On”
ความถี่ของผู้ให้บริการ 3G ในไทย มีดังนี้
AIS - 900 MHz
Dtac - 850 MHz
Truemove - 850 MHz
TOT - 2100 MHz
ความถี่ที่เป็นมาตรฐานโลกก็คือ 2100 MHz ซึ่ง มีเพียงบริษัทเดียวในไทยที่มีความถี่ 2100 MHz ในปัจจุบันไว้ครอบครองคือ บริษัท TOT และบริษัท TOT ได้ เริ่มมีการใช้ในประเทศไทยครั้งแรกในปี 2552 โดยบริษัท TOT
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)